เคยสงสัยกันบ้างหรือไม่ว่าบรรดาร้านสะดวกซื้อหรือร้านค้าอาหารทะเลที่จำหน่ายอาหารแช่แข็งสำเร็จรูปพร้อมรับประทานหรือ อาหารสดแช่แข็ง ที่ส่งไปขายทั่วประเทศหรือแม้แต่การส่งออกไปขายต่างประเทศ มีวิธีการในการแพ็กของและ ขนส่งอาหารแช่แข็ง อาหารทะเลแช่แข็ง อย่างไร เพื่อให้อาหารรักษาความสดอยู่ตลอดเวลา
วันนี้น้องพะโล้จะมาเผยเคล็ดลับ 7 เทคนิคแพ็กอาหารแช่แข็งที่ร้านค้าใช้กัน แถมน้องพะโล้ยังมีคลิปแบบสั้นๆได้ใจความมาให้ได้ดูกันอีกด้วย เพื่อที่เพื่อนๆจะได้นำไปประยุกต์ใช้ในการแพ็กของเพื่อน ๆ ได้อย่างถูกวิธี
เทคนิคแพ็กอาหารแช่แข็ง
1. เลือกพาชนะที่บรรจุให้เหมาะสม
ต้องเลือกพาชนะที่บรรจุให้เหมาะสม หากสินค้าที่ต้องการจะแพ็กเป็นประเภทอาหารที่ปรุงเสร็จใหม่ ๆ ให้เลือกใช้กล่อง พลาสติก PP (BPA FREE) ที่มีความหนาสามารถเข้าไมโครเวฟได้ ปิดฝาให้สนิทก่อนนำไปสู่ขั้นตอนการแช่แข็ง ถ้าเป็นอาหารทะเลทั้งสดและแห้งให้เลือกใช้ถุง LLDPE (Linear Low Density Polyethylene) ซึ่งเป็นถุงพลาสติกที่มีความใส เหนียวและนิ่ม สามารถบรรจุอาหารเย็นแช่แข็งได้ดี แต่จะไม่ทนความร้อน รีดอากาศออกให้หมดก่อนซีลปิดปากถุงให้เรียบร้อย ซึ่งสามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเครื่อง และถุงสูญญากาศได้
2. นำอาหารปรุงสำเร็จและอาหารทะเลไปแช่แข็ง
นำอาหารปรุงสำเร็จและอาหารทะเลไปแช่แข็ง หลังจากเลือกภาชนะสำหรับอาหารที่เหมาะสมแล้ว หากเป็นอาหารปรุงสดใหม่รอให้เย็นแล้วปิดฝาให้สนิทนำไปแช่แข็งที่อุณหภูมิต่ำกว่า -18 องศาเซลเซียสตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข โดยจะต้องแช่แข็งเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมงก่อนทำการจัดส่ง
ในขณะที่อาหารทะเล, อาหารสด เมื่อนำบรรจุลงในถุงให้นำไปซีลใน เครื่องซีลสุญญากาศ จากนั้นค่อยนำไปแช่แข็งด้วยอุณหภูมิ -18 องศาเซลเซียสเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมงก่อนนำจัดส่งเช่นกัน ซึ่งการแช่แข็งด้วยอุณหภูมิที่ติดลบนั้น นอกจากจะเป็นการถนอมอาหารวิธีหนึ่งแล้ว ยังเป็นการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียอื่น ๆ ได้อย่างดีอีกด้วย
3. ใช้กล่องโฟมใส่กล่องอาหารแช่แข็งและถุงแช่แข็ง
ใช้กล่องโฟมใส่กล่องอาหารแช่แข็งและถุงแช่แข็ง หรือเลือกใช้กล่องพลาสติกที่มีความหนาและแข็งแรงนำอาหารที่ผ่านการแช่แข็งเป็นที่เรียบร้อยแล้วใส่ลงในกล่องโฟม โดยใช้ Dry Ice หรือ น้ำแข็งแห้ง รองพื้นกล่องโฟมและชั้นบนสุดก่อนปิดกล่องโฟมหรือใส่บริเวณช่องว่างของกล่องอาหาร โดยปริมาณที่ใส่ไม่ควรเกิน 50-60% ของกล่องโฟม
4. แพ็กสินค้า
ถึงแม้สินค้าของลูกค้าจะถูกบรรจุลงกล่อง หรือถุงที่ปิดมิดชิดแล้วก็ตาม ในขั้นตอนการแพ็คสินค้า ควรที่จะบรรจุใส่ถุงอีกหนึ่งชั้นเพื่อป้องกันน้ำที่จะละลายจากน้ำแข็งมาสัมผัสกับสินค้าโดยตรง เมื่อนำสินค้าใส่ลงในกล่องโฟมแล้ว ควรมี วัสดุกันกระแทก ใส่ลงไปด้วยเพื่อป้องกันสินค้าเสียหายระหว่างการขนส่ง
5.ใส่วัสดุทำความเย็น
วัสดุทำความเย็นควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับอุณหภูมิที่ต้องการ นำวัสดุทำความเย็นใส่ไว้ด้านบนของสินค้า เพราะความเย็นจะเดินทางจากด้านบนลงด้านล่าง ทำให้ความเย็นจากวัสดุทำความเย็นสามารถเดินทางไปทั่วภายในกล่องโฟม ทำให้สินค้าได้รับความเย็นทั่วถึง
6. ปิดฝาให้สนิท
ปิดฝากล่อง หรือปากถุงให้สนิท โดยใช้เทปกาวปิดทับรอยต่อของฝากล่องโฟมหรือพันให้สนิท เพียงเท่านี้อาหารสด อาหารทะเลก็พร้อมที่จะขนส่งไปยังจุดหมายปลายทางเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
7. เลือกบริษัทที่มีตู้ควบคุมอุณหภูมิและตู้แช่แข็ง
ขั้นตอนสุดท้ายมีความสำคัญไม่แพ้ข้ออื่น ๆ เลย เพราะต่อให้แพ็กของดีมากแค่ไหน หากเลือกบริษัทขนส่งที่ไม่มีตู้ ควบคุมอุณหภูมิ ตู้แช่แข็ง สินค้าก็ไม่มีทางส่งถึงมือลูกค้าอย่างปลอดภัยแน่นอน โดยเฉพาะการขนส่งข้ามจังหวัด ที่บริษัทขนส่งโดยส่วนใหญ่มักจะมีการพักของ ณ จุดกระจายสินค้า หากพักนานอาจทำให้สินค้าที่เป็นอาหารแช่แข็งเสียหายได้ รวมไปถึงบริษัทขนส่งบางแห่งจะมีกฎไม่รับฝากสินค้าประเภทอาหารทุกชนิดแม้เป็นอาหารแห้งและ ผลไม้ ก็ตาม
ข้อควรระวังในการแพ็กอาหารแช่แข็ง
บริษัทขนส่งบางบริษัทจะมีกฎและเงื่อนไขที่แตกต่างกัน ผู้ส่งควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจ โดยเฉพาะในเรื่องของภาชนะภายนอกสุด โดยส่วนใหญ่จะเลือกใช้ กล่องโฟม
ข้อดีของกล่องโฟม
- สามารถกักเก็บความเย็นได้ดี
- ปกป้องความร้อนจากภายนอกได้
- หากได้รับการซีลกล่องโฟมด้วยเทปอย่างดีแล้ว จะไม่มีน้ำเล็ดลอดเข้าและออกจากกล่องโฟมได้
ข้อจำกัดของกล่องโฟม
- แตก หัก เสียหายได้ง่าย เมื่อต้องวางซ้อน ๆ กันหลายชั้น
- วางปะปนกับภาชนะอื่น ๆ ที่แข็งกว่า อาจทำให้กล่องโฟมแตก หัก เสียหายในระหว่างการขนส่ง
อายุและการจัดเก็บของอาหารแช่แข็งแบบต่าง ๆ
- เนื้อหมู, วัว, แพะ, แกะ ที่จัดเก็บเป็นชิ้น สามารถจัดเก็บได้ไม่เกิน 12 เดือน
- เนื้อบด จัดเก็บได้ไม่เกิน 6 เดือน
- เครื่องในสัตว์ จัดเก็บได้ไม่เกิน 4 เดือน
- สัตว์ปีก ไก่ เป็ด นก ที่จัดเก็บเป็นตัว สามารถจัดเก็บได้ไม่เกิน 12 เดือน
- เนื้อสัตว์ปีกเป็นชิ้น จัดเก็บได้ไม่เกิน 6 เดือน
- เครื่องในสัตว์ปีก จัดเก็บได้ไม่เกิน 4 เดือน
- ปลาเป็นตัว จัดเก็บได้ไม่เกิน 6 เดือน
- ปลาเป็นชิ้น จัดเก็บได้ไม่เกิน 3 เดือน
- กุ้ง หอย ปู ปลาหมึก จัดเก็บได้ไม่เกิน 6 เดือน
ขนส่งที่ให้บริการส่งพัสดุแบบเเช่แข็ง
ผู้ให้บริการขนส่งสินค้าที่มีตู้แช่แข็งและตู้ควบคุมอุณหภูมิไว้คอยบริการสำหรับร้านค้าและร้านอาหาร หรือแม้แต่ชาวสวนผลไม้ ที่ต้องการรักษาความสดใหม่ มีคุณภาพ ให้ถึงมือลูกค้าได้อย่างปลอดภัย มีระบบการันตีการจัดส่งที่รวดเร็ว หากส่งช้ายินดีคืนเงิน มีการรับประกันสินค้าภายใต้เงื่อนไขที่บริษัทกำหนดและยอมรับได้ นอกจากนี้ยังมีบริการเก็บเงินปลายทาง
บริการส่งสินค้าแช่แข็ง(Frozen service) ต่ำกว่า -15องศาเซลเซียส สินค้าที่อยู่ภายในต้องถูกแช่อยู่ในความเย็นที่ต่ำกว่า -15 องศาเซลเซียสอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 12 ชั่วโมง ก่อนการจัดส่ง
บริการขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิ แช่เย็น และแช่แข็ง เพียงแค่กล่องเดียวทาง INTER EXPRESS LOGISTICS ก็ส่งทั่วประเทศไทย จัดส่งถึงหน้าบ้าน ไม่ว่าจะเป็นสินค้าแช่เย็น ประเภท ผัก ผลไม้ ยารักษาโรค หรือสินค้าแช่แข็ง ประเภท เนื้อสัตว์แช่แข็ง อาหารทะเลแช่แข็ง จนไปถึงไอศกรีม
ขนส่งที่ให้บริการส่งสินค้าในรูปแบบสินค้าแช่เย็นที่อุณหภูมิ 0 – 8 องศาเซลเซียส และสินค้าแช่แข็งที่ อุณหภูมิต่ำกว่า -18 องศาเซลเซียส โดยใช้การขนส่งรถตู้ทึบและกล่อง Cool Box เพื่อควบคุมอุณหภูมิ จึงสามารถกักเก็บความสดใหม่ของสินค้าได้อย่างดี
นอกจากกระบวนการแพ็กของที่ดีและมีคุณภาพแล้ว การเลือกบริษัท ขนส่งอาหารแช่แข็ง อาหารทะเลแช่แข็ง ก็มีความสำคัญมาก เพราะถือเป็นหัวใจหลักของการขนส่งสินค้าไปถึงมือลูกค้าอย่างปลอดภัย
ที่มาข้อมูล
- https://www.pfvacuum.com/article/20/แพ็กอาหารทะเลแช่แข็งส่งออกด้วยเครื่องซีลสูญญากาศ
- https://www.youtube.com/watch?v=QP7IRolJuq8
- http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER17/DRAWER002/GENERAL/DATA0001/00001426.PDF
- https://www.sgethai.com/product/vacuum-bags-b0d/
อ่านเพิ่มเติม