ไม่ว่าจะเปิดร้านอาหาร คาเฟ่ ขายของสด หรืออยากเก็บวัตถุดิบให้สดใหม่ที่บ้าน การมี “ตู้แช่” ที่เหมาะกับการใช้งานถือเป็นเรื่องสำคัญมากๆ เพราะหากเลือกผิดประเภท อาจทำให้ของเสียไว หรือเปลืองค่าไฟโดยใช่เหตุ
หลายคนสงสัยว่า “ตู้แช่อาหารสดแบบไหนดี?” ตู้เเช่มีแบบไหนบ้าง? อุณหภูมิเท่าไหร่ถึงจะเหมาะกับเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ หรือการแพ็คอาหารแช่แข็ง? วันนี้เรามาไขทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับตู้แช่ ตั้งแต่ประเภท การใช้งาน ความแตกต่างของ freezer และ refrigerator รวมถึงการดูแลรักษาแบบง่ายๆ แต่ใช้ได้นาน
ตู้แช่มีทั้งหมดกี่ประเภท? แต่ละแบบใช้ทำอะไร เหมาะกับอาหารแบบไหน และควรตั้งอุณหภูมิเท่าไหร่ดี?
ตู้แช่ไม่ได้มีแค่ “แช่เย็น” กับ “แช่แข็ง” เท่านั้น แต่มีหลากหลายประเภทที่ออกแบบมาเพื่อรองรับการใช้งานที่แตกต่างกัน เช่น ร้านสะดวกซื้อ ร้านขายอาหารสด การส่งอาหารเเช่เเข็ง หรือการใช้งานในครัวบ้าน
1. ตู้แช่เย็น (Refrigerator)

- เหมาะสำหรับ: แช่ผัก ผลไม้ นม เครื่องดื่ม อาหารปรุงสุก
- อุณหภูมิแนะนำ: 1°C ถึง 7°C
- ลักษณะ: เป็นตู้แบบที่ใช้ทั่วไปในบ้าน มีทั้งแบบประตูเดียว/สองประตู
2. ตู้แช่แข็ง (Freezer)

- เหมาะสำหรับ: แช่เนื้อสัตว์ อาหารทะเล แช่แข็งอาหารสำเร็จรูป
- อุณหภูมิแนะนำ: -18°C ถึง -25°C
- ลักษณะ: มีทั้งแบบฝากระจกบน (Chest freezer) และแบบเปิดหน้าตู้ (Upright freezer)
3. ตู้แช่โชว์ (Display Cooler/Freezer)

- เหมาะสำหรับ: เครื่องดื่ม ของหวาน หรือสินค้าที่ต้องการโชว์หน้าตา
- อุณหภูมิแนะนำ: 1°C ถึง 10°C (ขึ้นอยู่กับสินค้า)
- ลักษณะ: มีประตูกระจก มองเห็นสินค้า เหมาะสำหรับร้านค้า
4. ตู้แช่ไวน์ / ตู้แช่เฉพาะทาง

เหมาะสำหรับ: การเก็บเครื่องดื่มเฉพาะ เช่น ไวน์ นมแม่ หรืออาหารพิเศษ
อุณหภูมิแนะนำ: 5°C ถึง 18°C (ปรับตามความเหมาะสมของสินค้า)
- ถ้าคุณแช่ของสดไว้ทำอาหาร เช่น เนื้อ หมู ไก่ ให้เลือก ตู้แช่แข็ง
- ถ้าแช่ของกินทั่วไปในบ้าน เช่น ผัก เครื่องดื่ม ให้เลือก ตู้แช่เย็น
- ถ้าทำร้านค้า ให้เลือก ตู้แช่โชว์ จะดูสะดวกและน่าซื้อ
Freezer กับ Refrigerator ต่างกันอย่างไร?
หลายคนสับสนว่า “ตู้เย็น” กับ “ตู้แช่แข็ง” มันต่างกันยังไงนะ? มาดูแบบเข้าใจง่ายๆ
Refrigerator (ตู้เย็น)
- อุณหภูมิ 1c-7c
- เหมาะกับผัก ผลไม้ อาหารปรุงสุก
- มีระบบ Defrost อัตโนมัติ
- ความจุปกติ
Freezer (ตู้แช่แข็ง)
- อุณหภูมิ -18c-25c
- เหมาะกับ เนื้อสัตว์ อาหารเเช่เเข็ง
- ส่วนใหญ่ต้องละลายน้ำเเข็งเอง
- ความจุใหญ่กว่า รองรับการเก็บนาน
ถ้าคุณต้องการ แช่เนื้อสัตว์จำนวนมาก และอยากเก็บนานๆ โดยไม่ต้องกลัวเน่า ควรเลือก “ตู้แช่แข็ง” เพราะอุณหภูมิต่ำกว่าและสามารถถนอมอาหารได้หลายเดือน
ปัจจัยที่ควรพิจารณาก่อนเลือกซื้อตู้แช่
ก่อนตัดสินใจซื้อ ลองถามตัวเองสักนิดว่า “เราแช่อะไร?” “ใช้ที่ไหน?” และ “พื้นที่มีแค่ไหน?” นี่คือปัจจัยสำคัญ:
1. ประเภทของอาหารที่จะเก็บ
- แช่ของสด/เนื้อสัตว์ → เลือกตู้แช่แข็ง
- แช่ผัก ผลไม้ → เลือกตู้เย็น
- แช่เครื่องดื่ม → เลือกตู้แช่โชว์
2. ขนาดพื้นที่ที่มี
- ถ้าบ้านหรือร้านมีพื้นที่จำกัด อาจต้องเลือกแบบตั้งหรือสองประตู
- ถ้ามีพื้นที่มาก Chest Freezer จะช่วยให้แช่ของได้เยอะ
3. งบประมาณ
- ราคาตู้แช่มีตั้งแต่หลักพันปลายๆ ไปจนถึงหลักหมื่น ขึ้นอยู่กับยี่ห้อ ขนาด และฟังก์ชันเสริม
4. ฟังก์ชันพิเศษ
- ระบบละลายน้ำแข็งอัตโนมัติ
- ควบคุมอุณหภูมิแยกโซน
- เทคโนโลยีประหยัดพลังงาน
ข้อควรรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาตู้แช่
เพื่อให้ตู้แช่ของคุณใช้งานได้นาน ควรดูแลให้ดีตั้งแต่วันแรกที่ใช้เลยนะ:
1. ทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ
- ล้างตู้แช่เดือนละ 1 ครั้ง ป้องกันกลิ่นและเชื้อรา
2. ละลายน้ำแข็งเป็นประจำ (ถ้าไม่มีระบบอัตโนมัติ)
- น้ำแข็งที่เกาะหนาจะทำให้ตู้แช่ไม่เย็นและเปลืองไฟ
3. เสียบปลั๊กให้ถูกต้อง
- ใช้ปลั๊กตรงกับไฟบ้าน ไม่ต่อพ่วงหลายเครื่อง ลดความเสี่ยงไฟไหม้
4. เช็กอุณหภูมิเป็นระยะ
- เพื่อให้แน่ใจว่าอาหารยังอยู่ในระดับที่ปลอดภัย ไม่เน่าเสียง่าย
การเลือก ตู้แช่อาหารสดแบบไหนดี ขึ้นอยู่กับว่าเราจะใช้เก็บอาหารประเภทไหน ใช้ที่ไหน และมีพื้นที่เท่าไหร่ ถ้าแช่ของสดเยอะๆ ควรเลือก ตู้แช่แข็ง แต่ถ้าแช่ของทั่วไปหรือของกินในบ้าน ตู้เย็นธรรมดาก็เพียงพอ
ไม่ว่าจะเลือกแบบไหน อย่าลืมดูเรื่องอุณหภูมิ ความจุ และระบบประหยัดไฟ เพราะตู้แช่เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องเปิดตลอดเวลา เลือกดี ใช้นาน และประหยัดได้จริง
ตู้แช่ที่ใช่ ไม่ใช่แค่แช่ของได้…แต่ช่วยให้ธุรกิจราบรื่น และอาหารปลอดภัยมากขึ้นด้วยนะ!