การส่งผักหรือผลไม้สดจากไร่ไปยังมือของลูกค้าเป็นเรื่องที่ลูกค้าเริ่มให้ความสนใจกันมากขึ้น แต่อย่างที่ทุกท่านทราบกันดีว่าผักและผลไม้ทุกชนิดเป็นพืชที่เน่าเสียง่าย ดังนั้นการเลือกบรรจุภัณฑ์ผักหรือผลไม้ที่เหมาะสมนั้นมีความสำคัญทั้งต่อผู้บริโภคและการอยู่รอดของเกษตรกรในตลาดเป็นอย่างมาก
เราจึงอยากแนะนำวิธีการเลือกบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะกับผักและผลไม้ เพื่อให้เพื่อนๆ ที่ต้องส่งผักและผลไม้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง แล้วจะทำอย่างไรบ้างนั้นไปดูกัน
ความหมายของ บรรจุภัณฑ์
บรรจุภัณฑ์ คือ สิ่งที่ผลิตขึ้นมาเพื่อจะนำมาห่อหุ้มสิ่งของหรือสินค้าชนิดต่างๆ เพื่อทำการปกป้องหรือป้องกันสินค้าจากการขนส่ง และเป็นการช่วยเก็บรักษาสินค้าจากปัจจัยภายนอกที่อาจทำให้เกิดความเสียหาย
นอกจากนี้ยังสามารถยืดอายุสินค้าเหล่านั้นได้ และยังมีประโยชน์อื่นๆอีกมาก สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย เพราะฉะนั้นการใช้งานจึงอยู่ที่ความต้องการของแต่ละบุคคลนั่นเอง
หน้าที่ของบรรจุภัณฑ์
หน้าที่หลักของบรรจุภัณฑ์คือการรักษาผักหรือผลไม้ในลักษณะเฉพาะ ที่จะรักษาคุณภาพและยืดอายุการเก็บรักษาให้นานขึ้น
ความสำคัญของบรรจุภัณฑ์ผักหรือผลไม้ จึงเป็นองค์ประกอบสำคัญในการจัดการการตลาด ที่แท้จริงแล้วบรรจุภัณฑ์เป็นวิธีการสื่อสารกับลูกค้า ดังนั้นมันจึงเกี่ยวข้องโดยตรงกับกลยุทธ์การขายอีกด้วย
ประเภทของบรรจุภัณฑ์
ฟังก์ชั่นของบรรจุภัณฑ์ผลไม้หรือผักสามารถสังเกตได้สองวิธี
1. บรรจุภัณฑ์หลัก (Primary package)
ชั้นของบรรจุภัณฑ์ที่สัมผัสกับผลิตภัณฑ์โดยตรง โดยมีเป้าหมายเพื่อป้องกันรักษาไม่ให้ตัวสินค้าได้รับความเสียหายหรือเพื่อความสะดวกในการนำไปใช้งาน ตัวอย่างเช่น
- หลอดยาสีฟัน
- ขวดแชมพู
- ขวดน้ำ
2. บรรจุภัณฑ์รอง(Secondary package)
บรรจุภัณฑ์ที่มาห่อหุ้มบรรจุภัณฑ์หลัก เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวสินค้าได้รับความเสียหาย อีกทั้งยังมีประโยชน์ในการช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตัวสินค้า สามารถดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคได้มากขึ้น ตัวอย่างเช่น
- กล่องยาสีฟัน
- กล่องใส่ขวดซอส
ประเภทของบรรจุภัณฑ์
บรรจุภัณฑ์ถูกแบ่งออกโดยดูจากวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิต ซึ่งส่งผลต่อความสามารถในการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป โดยบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะกับผักและผลไม้จะถูกแบ่งออกเป็น 5 ประเภท
1. เข่งไม้/พลาสติก
เข่งเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในประเทศเนื่องจาก ราคาถูก หาซื้อได้ง่าย เข่งสามารถบรรจุผลิตผลเกษตรได้ทุกชนิด กันน้ำ และช่วยระบายอากาศได้ มีรูปทรงหลายแบบส่วนใหญ่บรรจุผลิตผลได้ตั้งแต่ 15 –25 กิโลกรัม
ข้อเสีย คือ
- ผักและผลไม้ได้รับการกระทบกระเทือนง่าย
- อาจทำลายผิวของผัก ผลไม้โดยเฉพาะ ผัก ผลไม้ ที่มีผิวบาง
2. กล่องกระดาษลูกฟูก
กล่องกระดาษลูกฟูกเป็นภาชนะที่นิยมใช้เนื่องจากมีผิวเรียบไม่ทำความเสียหายกับผลิตผล ป้องกันการกระแทก สามารถพิมพ์รายละเอียดของสินค้าเพื่อดึงดูดความสนใจของลูกค้า ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมโดยสามารถนำกลับมาเข้าขบวนการผลิตใหม่ได้
ข้อเสียของกล่องกระดาษลูกฟูกคือ
- ไม่ทนน้ำ ต้องระมัดระวังเรื่องความชื้น การระบายอากาศระบายได้
- มีความแข็งแรงน้อย ทำให้อาจมีความเสียหายจากการกระแทก
3. ภาชนะพลาสติกแบบคงรูป
พลาสติกมีคุณสมบัติที่ดีคือ ความแข็งแรง ทนทาน วางซ้อนได้ดี ทนต่อความชื้นและเปียกน้ำได้ ผิวภายในเรียบไม่ทำลายผลผลิต ทำความสะอาดง่าย นำกลับมาใช้ได้ใหม่
แต่มีข้อเสียคือ
- พลาสติกมีราคาค่อนข้างแพง
4. ภาชนะไม้
ไม้เป็นภาชนะที่มีราคาถูก หาง่าย และสะดวกต่อการใช้งาน ทำให้มีข้อดีคือ ความแข็งแรง ทนทานสามารถวางซ้อนได้ สามารถออกแบบได้ตามต้องการ ทนต่อความชื้นและเปียกน้ำได้แต่มีข้อควรระวังคือ การเกิดเชื้อรา
ส่วนข้อเสียของภาชนะไม้คือ
- ผิวภายในแข็งและหยาบอาจทำความเสียหายต่อผลไม้ได้
- การขึ้นรูป การเก็บรักษา การขนย้าย และการพิมพ์ข้อความทำได้ยาก
5. โฟม
ผลิตภัณฑ์พลาสติกชนิดที่นิยมที่สุด คือ PS หรือ เรียกย่อๆ ว่า EPS เนื่องจากโฟมมีคุณสมบัติเด่นคือความหนาแน่นต่ำ มีความยืดหยุ่นป้องกันการซึมผ่านของไอน้ำได้ดี อีกทั้งขึ้นรูปให้เป็นรูปทรงต่างๆ ได้ง่าย ป้องกันฝุ่น ละออง ช่วยเก็บรักษาความสดไว้ในระยะเวลาสั้นๆ ซึ่งใช้เงินทุนไม่สูงมากนัก
โฟมแบ่งออกได้หลายชนิดตามลักษณะรูปทรง ถือเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ในการอำนวยความสะดวกในการขายปลีก มากกว่าประโยชน์ด้านการขนส่งหรือป้องกันการกระทบกระเทือน
ข้อเสียคือ
- ไม่มีความคงทน
- ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
6. ผลิตภัณฑ์เยื่อกระดาษขึ้นรูป
เป็นวัสดุหรือภาชนะบรรจุทำจากเยื่อกระดาษให้เป็นรูปร่างตามต้องการ เยื่อกระดาษขึ้นรูปนั้นนิยมนำมาใช้เป็นวัสดุกันกระแทก ผักและผลไม้ที่บอบบาง เพื่อช่วยในการขนส่งเช่น การทำเป็นถาดหลุมใส่ผลไม้สด
ข้อเสีย
- ต้องมีความพิถีพิถันในการเลือกใช้มากกว่าผลิตภัณฑ์ชนิดอื่น เนื่องจากส่งผลกระทบโดยตรงกับอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์
สรุป
บรรจุภัณฑ์นั้นเป็นสิ่งที่ผลิตขึ้นมาเพื่อจะนำมาห่อหุ้มสิ่งของหรือสินค้าชนิดต่างๆ โดยแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือแบบหลักและแบบรอง ซึ่งบรรจุภัณฑ์นั้นยังมีอีกหลายรูป โดยรูปแบบที่เหมาะแก่การเป็นบรรจุภัณฑ์ผักและผลไม้นั้นได้แก่
- เข่งไม้/พลาสติก
- กล่องกระดาษลูกฟูก
- ภาชนะพลาสติกแบบคงรูป
- ภาชนะไม้
- โฟม
- ผลิตภัณฑ์เยื่อกระดาษขึ้นรูป
โดยผักและผลไม้แต่ละชนิดก็มีความเหมาะสมมในการใช้งานที่แตกต่าง หากเพื่อนๆ กำลังตัดสินใจ ก็อลงดูว่าข้อเสียใดเป็นข้อเสียที่เรายอมรับได้มากที่สุดกันนะ
อ่านเพิ่มเติม
- แพ็คสินค้ายังไงดีให้ไม่เสียหาย ? ฉบับมือใหม่ทำตามได้เลย
- แนะนำวิธีแพ็กทุเรียน ขายของออนไลน์ ง่าย ๆ ที่คุณก็ทำได้
- บอกต่อ 5 วิธีแพ็กส่งผลไม้ ให้สดอร่อยถึงมือลูกค้า
ขอบคุณข้อมูลจาก