นอกจากเรื่องของการวางแผนการตลาด , ดูแลจัดการสินค้าและการบริการลูกค้าให้เกิดความประทับใจแล้ว การขายของออนไลน์ ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน
นั่นคือการส่งสินค้าให้ถึงมือลูกค้าอย่างรวดเร็วและถูกต้องตรงตามที่สั่ง ซึ่งถ้าในหนึ่งวันมีสินค้าที่ต้องแพ็คเพียงหนึ่งชิ้น ก็คงไม่ต้องเสียเวลามากมาย
แต่สำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่ต้องแพ็คของวันละหลาย ๆ ชิ้น นับหลายสิบ หลายร้อยชิ้น จะรู้ดีว่าการแพ็คสินค้าเป็นงานละเอียดและใช้เวลามากกว่าที่หลาย ๆ คนเข้าใจ วันนี้เราจึงขอนำเคล็ดลับหรือทริคดี ๆ ที่จะช่วยให้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์สามารถแพ็คของได้เร็วขึ้นและส่งพัสดุได้ง่ายขึ้นมาฝากกัน
เทคนิคแพ็คสินค้าให้เร็วขึ้น
1. อุปกรณ์ต้องพร้อม
อุปกรณ์ในการแพ็คของ ควรมีพร้อมอยู่ที่บ้านหรือที่ร้านค้า ไม่ว่าจะเป็นกล่อง , ซอง , เชือก , เทปใส , เทปกาว , แผ่นกันกระแทกและสติกเกอร์บาร์โค้ด
สำหรับสติกเกอร์บาร์โค้ดนั้น คุณสามารถขอเล่มบาร์โค้ดจากทางไปรษณีย์หรือบริษัทขนส่งที่ใช้บริการอยู่เป็นประจำได้เลย หากคุณส่งพัสดุจำนวนมากต่อวันเป็นประจำอยู่แล้ว
ซึ่งการแพ็คของให้เรียบร้อยทั้งหมดตั้งแต่ที่บ้านหรือร้านค้า จะช่วยประหยัดเวลาในขั้นตอนการส่งที่ไปรษณีย์หรือบริษัทขนส่งได้มากเลยทีเดียว
2. ตรายางหรือสติกเกอร์ของร้าน
การมีตรายางหรือสติกเกอร์ประจำร้านเพื่อแปะหรือประทับลงในตำแหน่งชื่อที่อยู่ผู้ส่ง จะช่วยประหยัดเวลาได้เป็นอย่างดี หากได้รับการออกแบบที่
- มองเห็นได้ชัด
- อ่านง่าย
- มีลวดลายที่ดึงดูดความสนใจ
- ข้อมูลที่ครบถ้วน
ก็จะยิ่งช่วยให้กล่องสินค้าของคุณดูมีเอกลักษณ์ จดจำได้ง่ายมากยิ่งขึ้นไปอีก
3. การใช้ทีมงานแพ็คสินค้า
เป็นเทคนิคที่ช่วยลดเวลาในการแพ็คสินค้าและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน โดยจะแบ่งงานให้ทีมงานแต่ละคนเพื่อให้ทำงานได้เร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตัวอย่างการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของทีม เช่น
- แบ่งงานตามความเชี่ยวชาญของแต่ละคน
- การทำงานแบบทีม
- ฝึกอบรมให้ทีมงานเพิ่มความสามารถและความเชี่ยวชาญในการแพ็คสินค้า
4. Door to Door Service
บริษัทขนส่งหลายแห่งมีบริการรับพัสดุจากมือผู้ส่ง ซึ่งร้านค้าออนไลน์หลายร้านที่ต้องส่งของเป็นจำนวนครั้งละมาก ๆ มักจะเลือกใช้บริการนี้ เนื่องจากไม่เสียเวลาเดินทางและไม่เสียค่าน้ำมันรถในการเดินทางไปส่งด้วยตนเอง
สรุป
เพื่อการบรรจุสินค้าลงในบรรจุภัณฑ์ให้สามารถขนส่งและจัดเก็บได้ตามมาตรฐาน การแพ็คสินค้าจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของสินค้าที่จะถูกบรรจุลงในบรรจุภัณฑ์ การใช้วัสดุแพ็คเหมาะสม เพื่อป้องกันการเกิดความเสียหาย
รวมถึงการใช้เทคนิคต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแพ็คสินค้า เช่น การแบ่งงานตามความเชี่ยวชาญ การใช้เทคนิคการทำงานแบบทีม การสร้างสภาพแวดล้อมทำงานที่เหมาะสม และการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มความสามารถและความเชี่ยวชาญของทีมงานในการแพ็คสินค้า
อ่านเพิ่มเติม